[vc_row][vc_column][vc_column_text]

สวัสดีปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๓ ปีหนูทอง

[/vc_column_text][vc_row_inner][vc_column_inner width=”1/4″][/vc_column_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_column_text]

สวัสดีวันปีใหม่
ขอให้ทุกทุกคนจงสุขขี
ขอให่สิ่งที่ผ่านมาในสิ้นปี
จงทิ้งไปซะทีที่ผ่านมา
อย่ากังวลเรื่องใดที่แล้วผ่าน
อย่าให้วันวานมาทำให้หม่นหมอง
เอาความคิดความกังวลเป็นเรื่องรอง
แล้วเก็บความเศร้าหมองให้ไปกับสิ้นปี

[/vc_column_text][/vc_column_inner][vc_column_inner width=”1/4″][/vc_column_inner][/vc_row_inner][vc_column_text]

ความหมายปีหนูทอง

หนู เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วและมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ทั้งที่อาศัยตามบ้านเรือน ในธรรมชาติและจากลักษณะนิสัยของหนูที่ชื่นชอบการกัดแทะ สะสมอาหารทำให้เกิดความสกปรก เสียหาย ฯลฯหนูที่พบในบ้านเรือน ตามท่อระบายน้ำจึงไม่เป็นที่พึงประสงค์ชื่นชอบ  แต่อีกมุมหนึ่งของหนูบางชนิดซึ่งมีความพิเศษ น่ารักกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อนคู่ใจ ฯลฯ

“คนในเอเชียผูกพันกับสัตว์ต่างๆก็จะนำสิ่งที่ใกล้ชิดเกี่ยวข้องเหล่านี้มาบันทึกไว้ แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด อาจเป็นเรื่องของความเชื่อ ความจำเป็นอย่างการเรียกขาน ปีหนูทอง หนูไฟ หนูซุกซนฯลฯก็เป็นเรื่องการคาดหมาย แต่ทั้งนี้ทั้งก็มีแง่มุมการเตือนสติ สร้างขวัญกำลังใจทำให้สิ่งต่างๆเหล่านั้นเป็นไปในทางที่ดีขึ้นและไม่ว่าจะทำสิ่งใดหากมีกำลังใจ จิตใจที่ดีแล้วก็จะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น”[/vc_column_text][vc_column_text]ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.nongmaiclub.com/blog/index.php?id=pongx555&page=showblog&idg=4&idt=205[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่

[/vc_column_text][vc_column_text]วันขึ้นปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตามความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนีย เริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทินโดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือน ในทุก ๆ 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติก ได้นำการปฏิบัติของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้น จนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ (ประมาณ 46 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ ชื่อโยซิเยนิส มาปรับปรุงให้ 1 ปี มี 365 วัน โดยทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือ เดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มให้เดือนกุมภาพันธ์ มี 29 วัน ให้ทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

และในวันที่ 21 มีนาคม ตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตามทิศตะวันตก วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมงเท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วัน จากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (ใช้เฉพาะในปี พ.ศ. 2125) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่าปฏิทินเกรกอเรียน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา[/vc_column_text][vc_column_text]ขอบคุณข้อมูลจาก : https://hilight.kapook.com/view/18913[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]   บริษัท ย่งฮง(ประเทศไทย) จำกัด จะหยุดทำการตั้งแต่ วันที่ 28 ธันวาคม 2562 – 1 มกราคม 2563 เนืองในเทศกาลวันปีใหม่ แล้วจะเปิดทำการ ในวันที่ 2 มกราคม 2563 ขออวยพรให้ทุกคน มีแต่ความสุข สนุก และปลอดภัยในช่วงเทศกาลนี้ แล้วพบกันใหม่ ปี2563 ปีหนูทองนะคะ สวัสดีค่ะ[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]