[vc_row][vc_column][vc_single_image image=”766368″ img_size=”full” alignment=”center”][vc_column_text]

transfer pump กับ booster pump คู่หูตัวช่วย เรื่องสูบจ่ายน้ำในอาคารสูง

เคยไหม สำหรับคนที่พักอาศัยใน หอพัก อพาร์ทเม้นท์ หรือคอนโด ที่จะใช้น้ำแต่ละที น้ำไหลช้า น้ำไหลไม่ต่อเนื่อง จะอาบน้ำด้วยก็สะดุด หรือ เปิดน้ำล้างจาน อ้าวน้ำหาย ซึ่งปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้  สามารถแก้ไขได้ ด้วยเครื่องมือคุณภาพอย่าง  transfer pump กับ booster pump  แล้วเครื่องมือคุณภาพที่กล่าวมานี้ คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร ในบทความนี้จะมาเล่าให้ฟังครับ

[/vc_column_text][vc_column_text]

ถึงจะบอกว่า ทั้งสองอุปกรณ์ที่กล่าวมานั้น จะเป็นคู่หู ที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหา เรื่องงานสูบจ่ายน้ำในอาคารสูงได้ แต่ทั้งสองอย่างนี้ก็มีหน้าที่ ที่แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง นั้นก็คือ

Transfer pump หรือ ทรานเฟอร์ปั๊ม เป็นปั๊มที่ทำหน้าสูบจ่ายน้ำขึ้นไปเก็บไว้ในถังเก็บบนดาดฟ้าของอาคารสูง โดยปั๊มตัวนี้จะถูกติดอยู่ในบริเวณด้านล่างของอาคารสูง โดยส่วนใหญ่จะติดตั้งไว้เป็นจำนวน 2 ตัว หรือถ้าอาคารมีขนาดที่ใหญ่มาก ก็อาจจะเป็น 3 ตัว เพราะมีระบบการทำงานที่ต้องสลับกัน ในกรณีที่ไม่ได้น้ำในปริมาณมาก หรือหากในเวลานั้นมีความต้องการในการสูบจ่ายที่สูงมาก ทั้งสองตัวก็จะทำงานเสริมกัน และในกรณีมีปั๊มตัวใดตัวหนึ่งเสียก็สามารถใช้ปั๊มตัวที่เหลือทำงานแทนได้ เพื่อให้สามารถส่งจ่ายน้ำได้อย่างไม่มีปัญหา[/vc_column_text][vc_column_text]

การทำงานของทรานเฟอร์ ปั๊ม
ขอบคุณภาพจาก http://www.thepump-tech.com/p/blog-page_10.html

[/vc_column_text][vc_column_text]ส่วนของ booster pump หรือ ปั๊มน้ำเสริมแรงดัน จะทำหน้าที่รักษาระดับแรงดันในท่อ โดยมีตัวถังแรงดัน (Pressure tank) เป็นตัวช่วยทำให้แรงดันมีความสม่ำเสมอได้อย่างต่อเนื่อง และอาศัยการทำงานของตัวเพรสเชอร์สวิทช์ (Pressure switch) ช่วยในการสั่งการ ให้เริ่มและหยุดการทำงาน[/vc_column_text][vc_column_text]การทำงานและองค์ประกอบของบูสเตอร์ปั๊ม

[/vc_column_text][vc_column_text]นอกจากนี้ทั้งสองอย่างนี้ก็ยังมีเรื่องของการควบคุมระบบปั๊มน้ำที่แตกต่างกันอีกด้วย ดังนี้

การควบคุมปั๊มน้ำ (Water Pump) แบบ Transfer Pump การควบคุมปั๊มน้ำ (Water Pump) แบบ Booster Pump
1. ควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำด้วยความต่างระดับของระดับน้ำ 1. ควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำดัวยระดับแรงดันน้ำในระบบท่อ
2. ใช้เซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ เช่น ก้านอิเล็กโทรด, ลูกลอย, Float Switch
หรือ Level Control เป็นต้น
2. ใช้เซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ เช่น Pressure Switch เป็นต้น

[/vc_column_text][vc_column_text]

ความแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนของทั้งสองอุปกรณ์

ในการทำงานของทั้งสองอุปกรณ์ มีคุณลักษณะเด่นของที่แตกต่างกันอยู่ คือ Transfer Pump จะเป็นอุปกรณ์ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการส่งน้ำจากต้นทางไปยังปลายทางโดยใช้หลัก Gravity โดยสามารถทำการติดตั้งเข้ากับท่อจ่ายน้ำขึ้นอาคารได้เลย ไม่ต้องเดินสายไฟจากตู้ควบคุมไปยังตัวปั๊มน้ำ แต่ตัว Booster pump จะทำหน้าที่ส่งน้ำจากบ่อพักน้ำด้านล่าง เข้าสู้ระบบโดยตรง โดยใช้หลักการรักษาระดับแรงดันในระบบ เพื่อช่วยเสริมแรงดันในระบบอาคารสูง เพื่อรักษาแรงดันน้ำในชั้นบนๆ ให้อยู่ในระดับคงที่

[/vc_column_text][vc_column_text]ข้อควรรู้ก่อนเลือกใช้อุปกรณ์

สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลย ที่เราต้องคำนึงถึง ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อ ก็คือหลักการเลือกใช้อุปกรณ์ที่รองรับต่อการใช้งานจริงในหน้างานนั้นๆ สำหรับ Transfer pump ก่อนการเลือกปั๊มน้ำ เราต้องดูว่า ถังเก็บน้ำที่เราใช้อยู่มีขนาดกี่ลิตร และมีอยู่กี่ใบ ขนาดของท่อหลักที่เราทำการส่งจ่ายน้ำ อาคารมีทั้งหมดกี่ชั้น ความยาวของแนวราบไปถึงถังเก็บน้ำ เพื่อที่ว่าจะสามารถคำนวณหา ปั๊มน้ำที่มีประสิทธิภาพการทำงานในการส่งจ่ายน้ำได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันก็มีอยู่ด้วยกัน หลากหลายแบรนด์ อาทิ ปั๊มน้ำหอยโข่ง Volute ปั๊มสำหรับสูบจ่ายน้ำดี ที่มีประสิทธิภาพสูง ง่ายต่อการติดตั้ง และการบำรุงรักษา มีหลากหลายรุ่นให้เลือกใช้ และปั๊มน้ำหอยโข่ง INTERSIGMA  ปั๊มสำหรับสูบจ่ายน้ำดี ชนิดหลายใบพัด เหมาะกับงานที่ต้องจ่ายน้ำแรงดันขึ้นที่สูง และในส่วนของ Booster Pump ก็ต้องเลือก เพรสเชอร์แท้งก์ (pressure tank) ที่สามารถรักษาระดับน้ำได้อย่างคงที่ และ ตัว เพรสเชอร์สวิทซ์ (pressure switch) ที่มีความแม่นยำสูงในการควบคุมสูง ซึ่งตัว เพรสเชอร์แท้งก์ ก็มีหลากหลายยี่ห้อ ให้ได้เลือกใช้ตามความต้องการ ได้แก่ ถังแรงดัน BAUMAN ที่มาพร้อมเพรสเชอร์เกจ เพื่อตรวจสอบแรงดันอากาศภายในได้ เพื่อสะดวกในเรื่องการเติมลม และ ถังแรงดัน ZILMET ที่สามารถทำแรงดันลมสูงสุด 10 บาร์ ส่วน เพรสเชอร์สวิทซ์ ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ก็คือ  เพรสเชอร์สวิทซ์ DANFOSS ที่มีหลากหลายรุ่น ให้เลือกใช้งาน ตั้งแต่ DANFOSS KP1 , DANFOSS KP5 , DANFOSS KP35 , DANFOSS KP36 ใช้ได้กับทั้งไฟฟ้ากระแสสลับและกระแสตรง ติดตั้งได้ง่าย[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่า ทั้งตัว Transfer Pump และ Booster pump ต่างก็เป็นอุปกรณ์ที่นิยม นำมาใช้กับงานที่ต้องการรักษาระดับแรงดันน้ำให้คงที่และมีความสม่ำเสมอในอาคารสูง ที่มีความจำเป็นในการใช้น้ำในปริมาณมาก เพื่อลดปัญหาน้ำไหลไม่แรง น้ำไหลช้า เมื่อต้องการใช้น้ำนั้นเอง

สนใจสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทรศัพท์ 02-618-3000 , 02-036-3000
โทรด่วน 088-008-2293
LINE: https://www.yonghong.co.th/linepump/
www.yonghong.co.th
“ นึกถึงสินค้าอุตสาหกรรม นึกถึงย่งฮง”[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]