3 Types of Pressure Tanks ?

       ถังแรงดัน (Pressure Tank) เป็นอุปกรณ์ที่กักเก็บปริมาณน้ำและอากาศที่ถูกอัดจากถังแรงดัน ในบางรูปแบบแบบมีการทำงานร่วมกับถุงไดอะแฟรม    โดยทั่วไปจะสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ Air Over Water Pressure Tank, Diaphragm Pressure Tank และ Bladder Pressure Tank มีลักษณะดังนี้

รูปแบบถังแรงดัน

1. Air Over Water Pressure Tank เป็นถังแรงดันประเภทที่ไม่มีถุงไดอะแฟรมในตัวถัง ปริมาณน้ำและอากาศในตัวถังแรงดันจะรวมกันอยู่ในที่เดียวไม่มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจน  โดยแรงดันหรืออากาศจะลอยตัวอยู่ด้านบนและน้ำจะอยู่บริเวณด้านล่างตามแรงโน้มถ่วงโลก ทั่วไปในปัจจุบันจะเป็นถังในรุ่นเก่า หรือเป็นถังที่มีการผลิตมานานแล้ว มักจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่า มีขนาดใหญ่กว่า ใช้พื้นที่มากกว่าถังแรงดันรูปแบบอื่น ๆ โดยประกอบด้วยการทำงานร่วมของหลายส่วน ได้แก่

     1.1 Air Valve เป็นวาล์วระบายอากาศ

     1.2 Compressed Air (อากาศอัดหรือลมอัด) คือ อากาศที่ถูกเก็บไว้แหล่งที่มีความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศ

     1.3 Water ปริมาณน้ำที่อัดอยู่ในถังแรงดัน

2. Diaphragm Pressure Tank เป็นถังแรงดันที่มีถุงไดอะแฟรมแยกระหว่างอากาศกับปริมาณน้ำออกจากกัน น้ำจะอยู่ในถุงไดอะแฟรม ส่วนอากาศจะอยู่นอกถุงไดอะแฟรมแต่เคลื่อนที่อยู่ในถังแรงดัน โดยออกแบบถุงไดอะแฟรมมาให้สูงขึ้นตามระดับน้ำ แม้ว่าถังแรงดันไดอะแฟรมจะเป็นที่รู้จักในด้านประสิทธิภาพที่สูงกว่าถังแรงดันแบบไม่มีถุงไดอะแฟรม แต่ก็สามารถทำงานผิดปกติได้หากถุงไดอะแฟรม หลุดออกจากด้านข้างของถัง ซึ่งทำให้แรงดันน้ำลดลงอย่างกะทันหัน และยังทำให้ถุงไดอะแฟรมของถังยังสามารถพับทับได้ ซึ่งอาจทำให้ปั๊มทำงานอย่างต่อเนื่องและไหม้ได้ในที่สุด โดยประกอบด้วยการทำงานร่วมของหลายส่วน ได้แก่

     2.1 Air Valve เป็นวาล์วระบายอากาศ

     2.2 Compressed Air (อากาศอัดหรือลมอัด) คือ อากาศที่ถูกเก็บไว้แหล่งที่มีความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศ

     2.3 Water ปริมาณน้ำที่อัดอยู่ในถังแรงดัน

     2.4 Diaphragm (ถุงไดอะแฟรม) เป็นอุปกรณ์เก็บปริมาณน้ำ

3. Bladder Pressure Tank เป็นถังแรงดันที่คล้ายกับแบบ Diaphragm Pressure Tank แบบมีถุงไดอะแฟรมในตัวถังแรงดัน โดยถุงไดอะแฟรมจะเป็นส่วนเก็บปริมาณของน้ำ ด้านนอกถุงเป็นส่วนของปริมาณของอากาศ โดยถุงไดอะแฟรมรูปแบบนี้จะเป็นเสมือนบอลลูนที่มีน้ำในตัว ซึ่งสามารถหดและขยายตัวได้ในแนวตั้งมีดื้อในการยึดถุงไดอะแฟรม กลไกนี้ทำให้เซ็นเซอร์ถังแรงดันทำงานได้ ข้อดี คือ มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าถังแรงดันแบบ Bladder Pressure Tank, Diaphragm Pressure Tank และในปัจจุบันเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยประกอบด้วยการทำงานร่วมของหลายส่วน ได้แก่

     3.1 Air Valve เป็นวาล์วระบายอากาศ

     3.2 Compressed Air (อากาศอัดหรือลมอัด) คือ อากาศที่ถูกเก็บไว้แหล่งที่มีความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศ

     3.3 Water ปริมาณน้ำที่อัดอยู่ในถังแรงดัน

     3.4 Diaphragm (ถุงไดอะแฟรม) เป็นอุปกรณ์เก็บปริมาณน้ำ

      3.5 Pressure (เกจวัดความดัน) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดและควบคุมแรงดัน

       ถุงไดอะแฟรม (Rubber Diaphragm) หรือไส้ยางสังเคราะห์ผลิตจากวัสดุที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดความยืดหยุ่นสูง เพื่อรองรับการบีบ การขยายของแรงดันที่เกิดขึ้นอยู่ภายในตัวถังแรงดัน มีความแข็งแรง ทนต่อการฉีกขาดได้ดี

สามารถรับชมเพิ่มเติมได้ : YONGHONG

สนใจสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม