การใช้สัญญาณมือสื่อสารของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครน

วัตถุประสงค์และข้อควรระวังของการใช้สัญญาณมือ

กฏกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.2564

     ในการสื่อสารของผู้บังคันเครนและเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน ให้มีความเข้าใจตรงกัน เป็นเรื่องสำคัญของการทำงานที่มีความเสี่ยง ทำให้ผู้บังคันเครนและเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินต้องมีความรู้ ความเข้าใจในสัญญาณต่างๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยตามที่กฏหมายได้กำหนดไว้ต่อการทำงานของปั้นจั่น เพื่อให้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและปลอดภัย โดยสามารถใช้สัญญานสื่อสารได้หลากหลาย เช่น ธง นกหวีด ซึ่งสัญญานที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ การใช้สัญญาณมือ ในการใช้สัญญาณมือต้องแสดงท่าทางอย่างชัดเจนหรือบางกรณีให้สัญญาณมือพร้อมกับการส่งเสียงแก่ผู้บังคับเครนแต่ต้องมีการทวนเสียงด้วยทุกครั้ง

หลักพื้นฐานใช้สัญญาณมือ

  • ผู้บังคันเครนต้องรับสัญญาณจากผู้ให้สัญญาณเพียงผู้เดียว
  • ผู้ให้สัญญาณนอกจากจะรู้เรื่องสัญญาณแล้วต้องเชี่ยวชาญเรื่องการยึดเกาะด้วยและต้องประเมินพิกัดยก ทิศทางการเคลื่อนที่ของเครนอย่างปลอดภัย เข้าใจความสามารถในการทำงานของเครน
  • ผู้ให้สัญญาณต้องอยู่ในที่ที่ปลอดภัย และผู้บังคับเครนสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
  • ผู้ให้สัญญาณต้องมีวิธีในการส่งสัญญาณที่เข้าใจง่ายแก่ผู้บังคับเครน
  • เมื่อทำการยึดวัสดุและตรวจสอบเรียบร้อย ผู้ให้สัญญาณจึงสามารถสั่งให้ยกขึ้นได้
  • การยกวัสดุขึ้นจะต้องยกให้อยู่ในศูนย์กลาง ห้ามยกเฉียง และให้ศูนย์กลางของตะขอยกขึ้นในแนวตรง
  • ในการยก เมื่อสลิงช่วยยกถูกดึงจนตึง ให้หยุดการทำงานและตรวจสอบความปลอดภัยให้เรียบร้อย แล้วจึงให้สัญญาณในการยกต่อไป
  • ในการวาง เมื่อวัสดุใกล้สัมผัสพื้น ให้สั่งหยุดการทำงาน 1 ครั้ง เพื่อความปลอดภัย แล้วตรวจให้เรียบร้อยก่อนวางลงนิ่งที่พื้น

สัญญาณมือ : ประเภทของเครนเหนือศีรษะ เครนขาสูง และเครนหอสูง (เครนชนิดอยู่กับที่)

1 1

ยกของขึ้น (Hoist)
ให้งอข้อศอกขึ้นให้ได้ฉาก ใช้นิ้วชี้ ชี้ขึ้นแล้วหมุนเป็นวงกลม

2 1

ลดของที่ยกลง (Lower)
ให้กางแขนออกเล็กน้อย ใช้นิ้วชี้ ชี้ลงแล้วหมุนเป็นวงกลม

3 2

ชุดยกเคลื่อนที่ (Trolley Travel)
ให้กำมือขวาหงายขึ้นในระดับหัวไหล่ นิ้วหัวแม่มือชี้ออกในทิศทางที่ต้องการ ให้ลูกรอกเคลื่อนที่ในทางแนวนอน

4 2

หยุดยกของ (Stop)
ให้เหยียดมือซ้ายออกข้างลำตัวระดับไหล่ ฝ่ามือคว่ำลง
 โดยเหยียดแขนนิ่งในท่านี้

5 1

สะพานเครนเคลื่อนที่ (Bridge Travel)
ให้เหยียดฝ่ามือขวาตรงออกไปข้างหน้าในระดับไหล่ ฝ่ามือตั้งตรง ทำท่าผลักในทิศทางที่ต้องการให้สะพานเคลื่อนที่ไป

6 2

หยุดยกของฉุกเฉิน (Emergency Stop)
ให้เหยียดแขนซ้ายออกไปอยู่ในระดับไหล่ ฝ่ามือคว่ำลงแล้วเหวี่ยง ไป-มา ในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว

7 1

การใช้ชุดยกหลายชุด (Multiple Trolleys) ให้มือซ้ายระดับเหนือศีรษะ งอศอกเป็นมุมฉาก 90 องศา ชูนิ้วชี้ขึ้นนิ้วเดียว หมายถึง ให้ใช้ลูกรอกหมายเลย 1 (ตามหมายเลขลูกรอก) สัญญาณต่างๆทำเช่นเดียวกัน (เช่น ยกขึ้นหรือยกลง)

8 1

ยกของขึ้นช้าๆ (Move Slowly) 
ให้ยกแขนคว่ำฝ่ามือให้ได้ระดับคาง แล้วใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่ง ชี้ตรงกลางฝ่ามือแล้วหมุนช้าๆ

9 2

เลิกใช้เครน (Magnet is Disconnected)
ให้ผู้บังคับเครนยืดแขนทั้งสองออกไปข้างลำตัว โดยหงายฝ่ามือทั้งสองข้าง

อ้างอิง : คู่มือการฝึกอบรมหลักสูตร ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น

            ความปลอดภัยในการทำงานเป็นสิ่งที่คำนึงอันดับแรก ตัวอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่นำมาใช้งานต้องมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทางบริษัท ย่งฮง (ประเทศไทย) จำกัด นำเข้าละจัดจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ รอกโซ่ไฟฟ้า เครนโครงสร้าง ปั๊มน้ำ ปั๊มแช่สูบน้ำเสีย เครื่องเติมอากาศ และสินค้าที่ใช้งานอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพอีกมากมาย พร้อมรับออกแบบ ประกอบ ติดตั้ง ทั้งระบบการทำงาน และการดูแลหลังการขาย พร้อมมีอะไหล่ให้บริการ หากท่านใดสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางช่องทางด้านล่างได้เลยนะคะ

ประเภทของเครนโครงสร้าง (Crane) เครนโรงงาน มีกี่ประเภท

สนใจสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม