ต้องรับมืออย่างไร เมื่อต้องเจอกับสถานการณ์น้ำท่วม

ต้องรับมืออย่างไร เมื่อต้องเจอกับสถานการณ์น้ำท่วม

สถานการณ์น้ำท่วม (flooding) หนึ่งใน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ส่งผลให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมากต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ ซึ่งสาเหตุหลัก ๆที่ทำให้เกิดภัยพิบัตินี้ ก็มาจาก พายุฝนฟ้าคะนอง หรือ มีฝนตกตลอดทั้งวัน ดังเช่น เหตุการณ์น้ำท่วมหนัก ในจังหวัด นครศรีธรธรรมราช ที่ในหลายพื้นที่ยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง และตกกระหน่ำลงมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ 27 พฤศจิกายน 2563 สถานการณ์นี้ยังคงน่าเป็นห่วงอยู่ แต่หากไม่มีฝนตกลงมาแล้วก็จะเข้าสู่สภาวะปกติ จากเหตุการณ์นี้เอง แอดมิน จึงอยากแบ่งปันเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการรับมือในช่วงที่เกิดน้ำท่วม ผ่านบทความนี้กันครับ

การรับมือกับน้ำท่วม ไม่ใช่แค่ช่วงที่เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น แต่เราควรที่รับมือกับเหตุการณ์นี้ตั้งแต่ก่อนที่จะเกิด ขณะเกิดน้ำท่วม หรือหลังจากน้ำท่วม เพื่อป้องกันความเสียหายและลดการสูญเสียทั้งตัวเราและทรัพย์สิน เพราะการเตรียมตัวให้พร้อมและไม่ประมาท มักเป็นวิธีการรับมือที่ดีที่สุด

ก่อนเกิดน้ำท่วม

  • ควรศึกษาด้านข้อมูลเกี่ยวกับน้ำท่วมในบริเวณใกล้เคียง เพื่อทำการคาดการณ์และเตรียมรับมือได้อย่างถูกต้อง
  • วางแผนเส้นทางสำหรับสถานที่ที่ใช้สำหรับอพยพ และเตรียมเครื่องมือด้านการสื่อสาร แบตเตอร์รี่สำรองของโทรศัพท์มือถือ และรายชื่อเบอร์โทรศัพท์ต่าง ๆ ที่สำคัญสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน
  • เตรียมวัสดุที่สามารถอุดปิดป้องกันบ้านเรือน เช่นการนำกระสอบทรายมาวางเป็นแนวนานกับทางน้ำไหล ให้ห่างจากตัวที่พักประมาณ 2 -5 เมตร ให้อยู่ในรูปทรงพีระมิด โดยที่ตัวฐานมีความกว้างกว่าความสูง 3 เท่า
  • นำยานพาหนะหรือของมีค่าไปเก็บยังที่ปลอดภัย ยกสิ่งของที่มีความสำคัญขึ้นที่สูง จัดเก็บเอกสารสำคัญใส่ซองกันน้ำให้เรียบร้อย
  • เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่มที่สะอาดไว้ให้ได้มากที่สุด และยาประจำตัวอย่างน้อย 3 วัน
  • ซักซ้อมทำความเข้าใจหรือฝึกซ้อมหนีน้ำท่วมกับคนในบ้าน เกี่ยวกับความปลอดภัยเมื่อต้องเจอกับสถานการณ์จริง
  • คอยติดตามสัญญาณเตือนภัย ไม่ว่าจะเป็นสถานีทางวิทยุหรือโทรทัศน์
 

ขณะเกิดน้ำท่วม

  • เมื่อพักอาศัยอยู่ในที่พักอาศัย ปิดวาล์วแก๊สให้สนิท ตัดระบบไฟฟ้า ปิดการใช้งานทุกอย่างที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะกระแสไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านได้ อาจส่งผลให้เกิดไฟฟ้าช๊อตได้ ปิดกั้นช่องทางน้ำไม่ว่าจะเป็นทางโถสุขภัณฑ์ ช่องน้ำทิ้งอ่างล้างจาน ป้องกันไม่ให้น้ำหลากเข้ามาบริเวณที่พัก คอยระวังสัตว์อันตรายที่มากับน้ำ และห้ามบริโภคทุกอย่างที่สัมผัสกับน้ำ
  • เมื่ออยู่นอกที่พักอาศัย ไม่ควรเดินตามเส้นทางการไหลน้ำ เพราะอาจจะถูกพัดพาไปจากกระแสน้ำที่ไหลแรงได้ และห้ามขับรถเป็นอันขาด เพราะมีความเสี่ยงสูงที่รถจะจมน้ำ  ห้ามเข้าใกล้บริเวณเสาไฟฟ้า เพราะอาจจะมีไฟฟ้ารั่วและอาจถูกไฟดูด
 

หลังจากน้ำท่วมหรือเหตุการณ์เข้าสู่สภาะวะปกติ

  • ตรวสอบระบบไฟฟ้าและโครงสร้างภายในตัววบ้านว่ามีตรงไหน ชำรุดหรือเกิดความเสียบหายบ้าง
  • ตรวจหารอยแตกรั่วของท่อน้ำ และตรวจดูสภาวะเรื่องสุขอนามัยของคนในบ้าน

แต่ถึงอย่างไรก็ดี นอกจากเราจะรับรู้ถึงวิธีการรับมือจากสถานการณ์น้ำท่วมแล้ว แต่การที่กลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ เราก็ต้องมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สามารถเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเครื่องมือที่ว่าก็คือ เครื่องสูบน้ำหรือปั๊มสูบน้ำท่วม ที่ในปัจจุบันก็มีหลากรุ่นให้เลือกใช้ จะมีรุ่นอะไรบ้างนั้น ในบทความนี้มีแนะนำครับ

เครื่องมือช่วยรับมือ สถานการณ์น้ำท่วม

ที่นิยมใช้ในปัจจุบันก็จมีรุ่น ปั๊มเครื่องสูบน้ำท่อพญานาค ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันดีเซล คุณสมบัติที่ดีของเครื่องสูบน้ำท่อพญานาค Stainless Steel SUS 304 มีความทนทานมาก แข็งแรง ทนต่อสารเคมี น้ำเค็ม น้ำกร่อย น้ำเสีย และอีกรุ่นหนึ่งก็คือ ปั๊มเครื่องสูบน้ำแบบลากจูง ซึ่งสามารถเลือกระบบการขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล หรือ มอเตอร์ไฟฟ้าได้เหมาะแก่การใช้ะบายน้ำที่ให้ปริมาณน้ำมาก

และแน่นอนว่าทุกครั้งที่มีฝนตก มักจะเจอกับเหตุการณ์ที่น้ำไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน จนทำให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ จนกลายเป็นปัญหาที่กวนใจในเรื่องของการเดินทางในทางเท้า หรือการจราจรที่ติดขัด หรือรวมไปถึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออก แต่ปัญหาเหล่านี้แก้ไข้ ด้วยปั๊มจุ่มที่เหมาะสำหรับสูบน้ำท่วมขัง อย่างรุ่น ปั๊มจุ่ม TSURUMI KTZ Series ปั๊มจุ่มกำลังสูง สำหรับสูบจ่ายระบายน้ำเสียที่ท่วมขัง ปั๊มจุ่ม TSURUMI รุ่น LB Series ปั๊มจุ่มที่มีความทนทานสูงและใช้งานได้ง่ายพกพาสะดวก เหมาะเป็นเครื่องสูบน้ำเสียในงานน้ำท่วมขังในช่วงหน้าฝน

สนใจสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Tel 02-618-3000 , 02-036-3000
Hotline 088-008-2293
“นึกถึงสินค้าอุตสาหกรรม นึกถึงย่งฮง

yonghong

สนใจสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม